Welcome to ครูชัชดอทคอม   Click to listen highlighted text! Welcome to ครูชัชดอทคอม

Fake News เฟคนิวส์ ข่าวลวง ข่าวปลอม

fake news, hoax, press

Fake News คืออะไร?

     Fake News หรือที่เขียนทับศัพท์ว่า เฟคนิวส์ คือ ข่าวปลอม ที่แชร์ผ่าน Social Network หรือ Social Media อย่าง Facebook, Twitter และ LINE เป็นต้น ซึ่งข้อความหรือข่าวเหล่านี้สามารถสร้างความเข้าใจผิดและความเสียหายแก่สังคมได้ และการกระจายข่าวปลอมมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสามารถกระจายไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก โดยงานวิจัยพบว่าข่าวปลอมหรือ Fake News เข้าถึงผู้ที่อ่านได้มากกว่าข่าวจริงถึง 6 เท่า และข่าวเหล่านั้นมักเกิดจากคนจริงๆ มากกว่า Bot (โปรแกรมหรือหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้น) และปัจจุบันมีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมากจึงเกิดการแพร่ข่าวปลอมโดยผู้ส่งสาร/ผู้อ่านไม่ได้ตรวจสอบ แล้วทำการส่งต่อไปเรื่อยๆ ที่กระจายสู่ผู้อื่นอย่างรวดเร็ว

ข่าวปลอมส่งผลกับสังคมอย่างไร

     ข่าวที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดโรคระบาดหรือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ส่งผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก ทำให้หลายคนเป็นกังวลกับข่าวมากเกินไป สถาพจิตใจอาจจะย่ำแย่เพิ่มขึ้น รวมถึงการปลอมว่าสิ่งนั้นสามารถป้องกันไวรัสได้หรือแนะนำวิธีการทำอุปกรณ์ป้องกันหรือยารักษาที่ผิดๆ ทำให้คนที่ไม่ได้กรองข่าว สามารถทำตามวิธีข่าวปลอมนั้นๆด้วย และข่าวเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 ล่าสุดคือ การแจ้งเตือนให้กักตุนสินค้า-อาหารโดยด่วน ซึ่งจริงๆการกักตุนอาหารสามารถทำได้ แต่ใช่ว่าจะไปเหมาซื้อที่ไม่จำเป็นต้องใช้มากักตุน เพราะหลายคนที่จำเป็นต้องใช้สินค้าเหล่านั้นก็มีมาก บางครั้งอาจส่งผลกระทบทั้งในภาคการผลิตสินค้านั้นๆด้วย

fake, news, media

เทคนิค 10 ข้อ สยบเฟคนิวส์

1.สงสัยข้อความพาดหัว  โดยข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจ โดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ และเครื่องหมายอัศเจรีย์ หากข้อความพาดหัวที่น่าตื่นตระหนกฟังดูไม่น่าเชื่อถือ ข่าวนั้นน่าจะเป็นข่าวปลอม


2.ยูอาร์แอล( URL)  โดย ยูอาร์แอล หรือ ลิงค์หลอกลวง หรือดูคล้ายอาจเป็นสัญญาณของ ข่าวปลอมได้ ซึ่งเว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากเปลี่ยนแปลง ยูอาร์แอล เพียงเล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง เราอาจไปที่เว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบ ยูอาร์แอล กับแหล่งข่าวที่มี


3.สังเกตแหล่งที่มา โดยตรวจดูให้แน่ใจว่าเรื่องราวเขียนขึ้นโดยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือและมีชื่อเสียง ด้านความถูกต้อง หากเรื่องราวมาจาก องค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม


4.มองหาการจัดรูปแบบที่ไม่ปกติ  ซึ่งเว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากมักมีการ สะกดผิดหรือ วางเลย์เอาต์ไม่ปกติ โปรดอ่านอย่างระมัดระวังหากเราเห็นสัญญาณเหล่านี้
5.พิจารณารูปภาพ   ซึ่งเรื่องราวข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวิดีโอที่ไม่เป็นความจริง โดยบางครั้ง รูปภาพอาจเป็นรูปจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว หรือเนื้อหา ซึ่งเราสามารถค้นหาเพื่อตรวจสอบ ได้ว่ารูปภาพเหล่านั้นมาจากที่ไหน


6.ตรวจสอบวันที่  ทั้งนี้เรื่องราวข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผล หรือมีการ เปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์


7.ตรวจสอบหลักฐาน  โดยการตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าถูกต้อง หากไม่มีหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีชื่อเสียง อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม


8.ดูรายงานอื่น ๆ  ทั้งนี้หากไม่มีแหล่งที่มาอื่น ๆ ที่รายงานเรื่องราวเดียวกัน อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าว เป็นข่าวปลอม หากมีการรายงานข่าวโดยหลายแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ มีแนวโน้มว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง


9.เรื่องราวนี้เป็นเรื่องตลกหรือไม่  ซึ่งบางครั้งอาจแยกข่าวปลอมจากเรื่องตลกหรือการล้อเลียนได้ยาก ให้ตรวจสอบดูว่าแหล่งที่มาของข่าวขึ้นชื่อเรื่องการล้อเลียนหรือไม่ และรายละเอียดตลอดจนน้ำเสียงของข่าว ฟังดูเป็นเรื่องตลกหรือไม่


10.เรื่องราวบางเรื่องอาจตั้งใจเป็นข่าวปลอม  โดยให้ใช้วิจารณญาณเพื่อคิดวิเคราะห์เรื่องราว ที่เราได้อ่าน และแชร์เฉพาะข่าวที่เราแน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น

ข่าวปลอมเกิดขึ้นได้อย่างไร

     ส่วนใหญ่ต้นเหตุการเกิดขึ้นของข่าวปลอมคือการทำให้ผู้รับสารเข้าใจแบบนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด เพราะสิ่งที่ตามมาคือคนไม่สามารถแยกแยะข้อมูลข่าวสารได้ว่าอันไหนจริงอันไหนปลอม เพราะข่าวปลอมบางข้อความอ้างอิงไปถึงบุคคลหรือแหล่งอ้างอิงว่ามาจากงานวิจัย บางครั้งอาจเกิดขึ้นเพียงเพื่อใส่ร้ายหรือเพียงบิดเบือนข้อมูลบางอย่าง และหลายคนที่หลงเชื่อข่าวปลอมเหล่านั้นก็ส่งต่อสู่บุคคลอื่นๆได้ ส่งผลต่อการเข้าใจผิด เป็นต้น ซึ่งหลายข่าวปลอมมักเป็นประเด็นที่กำลังถกเถียงกันในสังคมออนไลน์หรือข่าวล่าสุดที่กำลังเป็นกระแส

ข่าวปลอมผิดกฎหมาย

     การเผยแพร่ข่าวปลอม ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือบิดเบือน มีความผิดเกี่ยวกับการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยความผิดและอัตราโทษนั้นมีทั้งโทษปรับและโทษจำคุก ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 การกระทำความผิดดังกล่าว ผู้ที่ผลิตข่าวปลอม บิดเบือน และนำเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งผู้ส่งต่อข้อมูลเท็จนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนหรือเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาถือว่ามีความผิดเท่ากับผู้กระทำผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากข้อมูลนั้นทำให้บุคคล องค์กร หน่วยงาน เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ก็ยังอาจจะได้รับโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อะไรคือเฟคนิวส์กันนะ

วิธีแยกแยะเฟคนิวส์กับข้อเท็จจริง

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://accesstrade.in.th

https://www.dailynews.co.th

https://www.uih.co.th

https://library.parliament.go.th

https://www.youtube.com

Scroll to Top Click to listen highlighted text!