Welcome to ครูชัชดอทคอม   Click to listen highlighted text! Welcome to ครูชัชดอทคอม

admin

การเปิดงานเก่าใน Scratch

การเปิดงานเก่าใน Scratch เมื่อเราเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ Scratch เราสามารถบันทึกงานในโปรไฟล์ของเราได้อย่างง่ายดายและสะดวกต่อการเปิดเพื่อแก้ไข                ไปดูและทดลองทำตาม ได้เลยครับ 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu คลิก “ลงชื่อเข้าใช้”   2.ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเรา จากนั้นคลิกที่ “ลงชื่อเข้าใช้”   3.กดที่โปรไฟล์ของเรา คลิกที่ “ผลงานของฉัน”   4.เลือกผลงานของเราที่เคยบันทึกไว้ แล้วคลิก”ดูด้านใน”   5.รอสักครู่…..   6.จะปรากฏผลงานของเราดังภาพ

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu 2.เลื่อนไปด้านล่างสุดของเว็บไซต์ 3.กดเลือกภาษาไทย 4.การเปลี่ยนภาษาในคำสั่งโค๊ดดิ้ง กดที่สัญลักษณ์ลูกโลก 5.กดเลือก “ไทย”

สมัครสมาชิก Scratch ฉบับ 2022

ขั้นตอนการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ Scratch 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu 2.คลิกเข้าร่วม Scratch 3.ใส่ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ (ชื่อเล่น) หากชื่อสั้นเกินไปหรือซ้ำ ให้เพิ่มตัวเลขเช่น 2022 4.กำหนดรหัสผ่าน 6 ตัว ให้เหมือนกันทั้ง 2 ช่อง 5.เลือก Thailand แล้วกดต่อไป 6.เลือก เดือนเกิดและปีค.ศ.ที่เกิด แล้วกดต่อไป 7.เลือก (หรือไม่เลือก) เพศ แล้วกดต่อไป 8.ใส่อีเมล แล้วกด สร้างบัญชีของคุณ ***หากไม่มีอีเมลหรือจำไม่ได้ ให้ไปที่ https://10minemail.com เพื่อขออีเมลชั่วคราว 9.คลิกเริ่มต้นใช้งาน

สร้างป้อมล้อมปีศาจ

เกม . เกมฝึกสมองและวางแผน (strategy game) หากได้ยินคำว่า “เกม” หลายคนคงจะนึกถึงสื่อบันเทิงที่มีไว้ให้ความเพลิดเพลินและผ่อนคลายใช่ไหมครับ ขณะที่บางคนก็อาจจะมองเกมในเชิงลบว่า เป็นสื่อบันเทิงที่ทำให้ติดและส่งผลต่อการทำงานหรือการเรียนได้ แต่ทุกคนทราบไหมครับว่า เกมที่มีประโยชน์ในการ “ฝึกสมอง” นั้นก็มีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งเกม Puzzle, เกมที่ฝึกทักษะการคำนวณ ฝึกการใช้ตรรกะ หรือฝึกวางแผน ไปจนถึงเกมที่ให้ความรู้ด้านภาษา เรียกได้ว่า ได้ทั้งความบันเทิงและความรู้ในเวลาเดียวกันเลยครับ แต่เนื่องจากเกมฝึกสมองมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งยังมีจำนวนมากมายจนเลือกเล่นกันไม่ถูก วันนี้เราจึงขอนำเสนอเกม Tower Defense เกมแนวป้องกันฐานหรือสร้างป้อมนั่นเอง เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และวางแผนเป็นลำดับขั้นตอน Share on facebook Facebook

business, technology, city

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

บทเรียนออนไลน์เรื่อง การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ สาระที่ 4 เทคโนโลยี          มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม          ตัวชี้วัด ม.3/3  ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อและผลกระทบจากการให้ข่าวสารที่ผิด เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน          ตัวชี้วัด ม.3/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม allowfullscreen

ความเป็นส่วนตัว

ความเป็น . (Information Privacy) ความสำคัญของความเป็นส่วนตัว     ปัจจุบันมนุษย์มีการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีที่พบมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วย ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสาร มีการเก็บข้อมูล ประมวลผลและแสดงข้อมูลบนโลกออนไลน์ ทุกคนสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายดาย บางคนเลือกใช้ข้อมูลที่ดี แต่บางคนนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหลักคุณธรรม จริยธรรม สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือเกิดอาชญากรรมในสังคมได้          ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เป็นสิทธิในการเป็นเจ้าของและควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ ให้กับผู้อื่น จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ประเด็น 1.ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผย ให้กับผู้อื่น เช่น การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ และตัวอย่างพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรม เช่น การติดตามความเคลื่อนไหวของบุคคล การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) หมายถึง ความถูกต้องของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น …

ความเป็นส่วนตัว Read More »

tablet, ipad, read

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย https://youtu.be/0gpVS3iNdUY เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร     เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสื่อสาร มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media  การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ …

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามสิทธิ        คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนในสังคมเป็นอย่างมากเช่นการสนทนาสื่อสารการส่งข้อมูลและแชร์ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะเป็นในรูปของข้อความรูปภาพหรือคลิปวีดิโอแต่ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็เป็นเหมือนดาบสองคมหากผู้ใช้นำไปใช้งานในทางที่ไม่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การขโมยข้อมูลของคนอื่นและนำไปเผยแพร่ต่อทำให้ผู้อื่นเสียหายการหลอกลวงผู้ใช้คนอื่นให้เชื่อใจและโอนเงินให้      นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลส่งผลให้การกระทำผิดเป็นไปได้อย่างง่ายดายและสร้างความเสียหายได้ในวงกว้าง และเนื่องจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นมีความแตกต่างไปจากอาชญากรรมทั่วๆไป ในสังคมซึ่งส่งผลให้กฎหมายที่มีอยู่เดิมไม่ครอบคลุมการกระทำผิดในลักษณะนี้และไม่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้ที่ก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้  เช่น การโจรกรรมเงินในบัญชีธนาคารของผู้ใช้รายอื่นๆผ่านทางบัญชีธนาคารออนไลน์การโจรกรรมรูปภาพหรือคลิปวีดิโอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นอีกทั้ง พยานหลักฐานต่างๆนั้นสามารถถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือถูกทำลายได้ง่าย เช่น ข้อมูลที่ถูกบรรจุอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk) หรือ แฟลชไดรฟว์ (Flash Drive)       จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ในปี พ.ศ. 2550 จึงได้เริ่มมีการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ จนกระทั่งในเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ในการคุ้มครองสิทธิ ขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว โดยมุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นฉบับที่ 2 คือ ปี2560 ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน สรุป 13 ข้อ สาระสำคัญจำง่ายๆ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ …

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Read More »

Scroll to Top Click to listen highlighted text!