Welcome to ครูชัชดอทคอม   Click to listen highlighted text! Welcome to ครูชัชดอทคอม

Information Teachnology

Information Teachnology

business, technology, city

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

บทเรียนออนไลน์เรื่อง การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ สาระที่ 4 เทคโนโลยี          มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม          ตัวชี้วัด ม.3/3  ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อและผลกระทบจากการให้ข่าวสารที่ผิด เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน          ตัวชี้วัด ม.3/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม allowfullscreen

ความเป็นส่วนตัว

ความเป็น . (Information Privacy) ความสำคัญของความเป็นส่วนตัว     ปัจจุบันมนุษย์มีการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีที่พบมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วย ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสาร มีการเก็บข้อมูล ประมวลผลและแสดงข้อมูลบนโลกออนไลน์ ทุกคนสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายดาย บางคนเลือกใช้ข้อมูลที่ดี แต่บางคนนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหลักคุณธรรม จริยธรรม สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือเกิดอาชญากรรมในสังคมได้          ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เป็นสิทธิในการเป็นเจ้าของและควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ ให้กับผู้อื่น จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ประเด็น 1.ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผย ให้กับผู้อื่น เช่น การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ และตัวอย่างพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรม เช่น การติดตามความเคลื่อนไหวของบุคคล การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) หมายถึง ความถูกต้องของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น …

ความเป็นส่วนตัว Read More »

tablet, ipad, read

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย https://youtu.be/0gpVS3iNdUY เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร     เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสื่อสาร มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media  การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ …

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามสิทธิ        คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนในสังคมเป็นอย่างมากเช่นการสนทนาสื่อสารการส่งข้อมูลและแชร์ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะเป็นในรูปของข้อความรูปภาพหรือคลิปวีดิโอแต่ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็เป็นเหมือนดาบสองคมหากผู้ใช้นำไปใช้งานในทางที่ไม่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การขโมยข้อมูลของคนอื่นและนำไปเผยแพร่ต่อทำให้ผู้อื่นเสียหายการหลอกลวงผู้ใช้คนอื่นให้เชื่อใจและโอนเงินให้      นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลส่งผลให้การกระทำผิดเป็นไปได้อย่างง่ายดายและสร้างความเสียหายได้ในวงกว้าง และเนื่องจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นมีความแตกต่างไปจากอาชญากรรมทั่วๆไป ในสังคมซึ่งส่งผลให้กฎหมายที่มีอยู่เดิมไม่ครอบคลุมการกระทำผิดในลักษณะนี้และไม่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้ที่ก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้  เช่น การโจรกรรมเงินในบัญชีธนาคารของผู้ใช้รายอื่นๆผ่านทางบัญชีธนาคารออนไลน์การโจรกรรมรูปภาพหรือคลิปวีดิโอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นอีกทั้ง พยานหลักฐานต่างๆนั้นสามารถถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือถูกทำลายได้ง่าย เช่น ข้อมูลที่ถูกบรรจุอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk) หรือ แฟลชไดรฟว์ (Flash Drive)       จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ในปี พ.ศ. 2550 จึงได้เริ่มมีการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ จนกระทั่งในเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ในการคุ้มครองสิทธิ ขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว โดยมุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นฉบับที่ 2 คือ ปี2560 ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน สรุป 13 ข้อ สาระสำคัญจำง่ายๆ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ …

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Read More »

บทเรียนออนไลน์ เรื่องความหมายและประเภทของข้อมูลที่แชร์บนโลกออนไลน์

บทเรียนออนไลน์ เรื่องความหมายและประเภทของข้อมูลที่แชร์บนโลกออนไลน์ วิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามสิทธิในการนำมาใช้ allowfullscreen

Creative Commons (สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์)

Creative Commons คืออะไร Creative Commons หรือ สัญญาอนุญาตแบบเปิด เป็นลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่เปิดโอกาสให้สาธารณะได้ทำผลงานนั้นไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เหตุผลการมีอยู่ของ Creative Commons (CC) ก็เพื่อช่วยให้เจ้าของสามารถบอกให้คนทั่วไปรู้ว่า ผลงานของตัวเขาสามารถนำไปใช้งานในลักษณะใดต่อได้บ้างอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ Creative Commons ยังช่วยปกป้องผู้ใช้ทั่วไปให้ไม่ต้องกังวลว่าจะเผลอไปละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตราบใดที่เขาทำถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่ผู้ที่นำผลงานไปใช้จะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้บนผลงาน ผ่าน 4 สัญลักษณ์ที่แทนแต่ละเงื่อนไข มั่นใจว่าหลายคนเคยเห็นผ่านตา แต่รู้ไหมว่า สัญลักษณ์แต่ละอย่างหมายถึงอะไร https://www.youtube.com/watch?v=KZxblRoZqP0 1. Attribution (BY) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ต้องให้เครดิตที่มาของเจ้าของผลงานนั้น ซึ่งถ้าเขาอยากจะใช้ผลงานนั้นโดยไม่มีเครดิตชื่อเจ้าของผลงานกำกับ จะต้องทำการขอนุญาตเจ้าของผลงานก่อน 2. NonCommercial (NC) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ต้องไม่ใช่เพื่อการค้า เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน 3. NoDerivatives (ND) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย ผลงานชิ้นนั้นได้ แต่ห้ามดัดแปลงงาน เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุาตจากเจ้าของผลงานก่อน 4. ShareAlike (SA) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ผลงานที่ดัดแปลงนั้นจะต้องกำกับด้วยสัญญาอนุญาตเงื่อนไขเดียวกันกับต้นฉบับ เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน …

Creative Commons (สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) Read More »

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)

ทรัพย์สินทางปัญญา(Intellectual Property)คืออะไร       ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา       โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์      ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้ว ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ซื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม …

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) Read More »

fake, fake news, media

Fake News เฟคนิวส์ ข่าวลวง ข่าวปลอม

Fake News คืออะไร?      Fake News หรือที่เขียนทับศัพท์ว่า เฟคนิวส์ คือ ข่าวปลอม ที่แชร์ผ่าน Social Network หรือ Social Media อย่าง Facebook, Twitter และ LINE เป็นต้น ซึ่งข้อความหรือข่าวเหล่านี้สามารถสร้างความเข้าใจผิดและความเสียหายแก่สังคมได้ และการกระจายข่าวปลอมมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสามารถกระจายไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก โดยงานวิจัยพบว่าข่าวปลอมหรือ Fake News เข้าถึงผู้ที่อ่านได้มากกว่าข่าวจริงถึง 6 เท่า และข่าวเหล่านั้นมักเกิดจากคนจริงๆ มากกว่า Bot (โปรแกรมหรือหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้น) และปัจจุบันมีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมากจึงเกิดการแพร่ข่าวปลอมโดยผู้ส่งสาร/ผู้อ่านไม่ได้ตรวจสอบ แล้วทำการส่งต่อไปเรื่อยๆ ที่กระจายสู่ผู้อื่นอย่างรวดเร็ว ข่าวปลอมส่งผลกับสังคมอย่างไร      ข่าวที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดโรคระบาดหรือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ส่งผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก ทำให้หลายคนเป็นกังวลกับข่าวมากเกินไป สถาพจิตใจอาจจะย่ำแย่เพิ่มขึ้น รวมถึงการปลอมว่าสิ่งนั้นสามารถป้องกันไวรัสได้หรือแนะนำวิธีการทำอุปกรณ์ป้องกันหรือยารักษาที่ผิดๆ ทำให้คนที่ไม่ได้กรองข่าว สามารถทำตามวิธีข่าวปลอมนั้นๆด้วย และข่าวเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 ล่าสุดคือ การแจ้งเตือนให้กักตุนสินค้า-อาหารโดยด่วน ซึ่งจริงๆการกักตุนอาหารสามารถทำได้ แต่ใช่ว่าจะไปเหมาซื้อที่ไม่จำเป็นต้องใช้มากักตุน เพราะหลายคนที่จำเป็นต้องใช้สินค้าเหล่านั้นก็มีมาก …

Fake News เฟคนิวส์ ข่าวลวง ข่าวปลอม Read More »

Scroll to Top Click to listen highlighted text!