Welcome to ครูชัชดอทคอม   Click to listen highlighted text! Welcome to ครูชัชดอทคอม

ม.3

ตัวอย่างเกมจาก Scratch

เกม Shooting ใจเกเร https://scratch.mit.edu/projects/727021615 เกมแข่งรถ https://scratch.mit.edu/projects/723065089 เกมเด็กกระโดด https://scratch.mit.edu/projects/725117764 เกมฉลามชอบงับ https://scratch.mit.edu/projects/723071016 ลูกบอลอวกาศ https://scratch.mit.edu/projects/723073958 เกมป๊อปแคท https://scratch.mit.edu/projects/723076899 มาเล่นป้อปแคทกันเด้อ https://scratch.mit.edu/projects/723068383 ยิงไก่ตึงๆ https://scratch.mit.edu/projects/725126637 เกมคิดเลข https://scratch.mit.edu/projects/724417339 เกมหมีกระโดด https://scratch.mit.edu/projects/724417351 เกม flappy bird https://scratch.mit.edu/projects/724419718

สร้างเกมแข่งรถโดยใช้ Scratch

สร้างเกมแข่งรถโดยใช้ Scratch โปรแกรม Scratch สามารถสร้างเกมง่ายๆได้ โดยใช้บล็อคคำสั่ง ซึ่งแต่ละคำสั่งได้แบ่งหมวดหมู่ตามสี นักเรียนสามารถทดลองทำตามเพื่อศึกษาได้ด้วยตนเองโดยดูจากคลิปด้านล่างนี้ https://www.youtube.com/watch?v=enL_4wrZzQU&t=692s ***นักเรียนอาจเปลี่ยนภาษา เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ตรงกับคลิปด้านบน ขอบคุณคลิปจากช่อง https://www.youtube.com/c/ApiwatWongkanha โค๊ดส่วนของถนน โค๊ดส่วนของรถ 1 โค๊ดส่วนของรถ 2 โค๊ดส่วนของรถ 3 โค๊ดส่วนของรถ 4 โค๊ดส่วนของรถ 5 โค๊ดส่วนของอุปสรรค     ตัวอย่างเกมเมื่อเสร็จแล้ว

การเปิดงานเก่าใน Scratch

การเปิดงานเก่าใน Scratch เมื่อเราเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ Scratch เราสามารถบันทึกงานในโปรไฟล์ของเราได้อย่างง่ายดายและสะดวกต่อการเปิดเพื่อแก้ไข                ไปดูและทดลองทำตาม ได้เลยครับ 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu คลิก “ลงชื่อเข้าใช้”   2.ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเรา จากนั้นคลิกที่ “ลงชื่อเข้าใช้”   3.กดที่โปรไฟล์ของเรา คลิกที่ “ผลงานของฉัน”   4.เลือกผลงานของเราที่เคยบันทึกไว้ แล้วคลิก”ดูด้านใน”   5.รอสักครู่…..   6.จะปรากฏผลงานของเราดังภาพ

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu 2.เลื่อนไปด้านล่างสุดของเว็บไซต์ 3.กดเลือกภาษาไทย 4.การเปลี่ยนภาษาในคำสั่งโค๊ดดิ้ง กดที่สัญลักษณ์ลูกโลก 5.กดเลือก “ไทย”

business, technology, city

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

บทเรียนออนไลน์เรื่อง การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ สาระที่ 4 เทคโนโลยี          มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม          ตัวชี้วัด ม.3/3  ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อและผลกระทบจากการให้ข่าวสารที่ผิด เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน          ตัวชี้วัด ม.3/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม allowfullscreen

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามสิทธิ        คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนในสังคมเป็นอย่างมากเช่นการสนทนาสื่อสารการส่งข้อมูลและแชร์ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะเป็นในรูปของข้อความรูปภาพหรือคลิปวีดิโอแต่ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็เป็นเหมือนดาบสองคมหากผู้ใช้นำไปใช้งานในทางที่ไม่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การขโมยข้อมูลของคนอื่นและนำไปเผยแพร่ต่อทำให้ผู้อื่นเสียหายการหลอกลวงผู้ใช้คนอื่นให้เชื่อใจและโอนเงินให้      นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลส่งผลให้การกระทำผิดเป็นไปได้อย่างง่ายดายและสร้างความเสียหายได้ในวงกว้าง และเนื่องจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นมีความแตกต่างไปจากอาชญากรรมทั่วๆไป ในสังคมซึ่งส่งผลให้กฎหมายที่มีอยู่เดิมไม่ครอบคลุมการกระทำผิดในลักษณะนี้และไม่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้ที่ก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้  เช่น การโจรกรรมเงินในบัญชีธนาคารของผู้ใช้รายอื่นๆผ่านทางบัญชีธนาคารออนไลน์การโจรกรรมรูปภาพหรือคลิปวีดิโอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นอีกทั้ง พยานหลักฐานต่างๆนั้นสามารถถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือถูกทำลายได้ง่าย เช่น ข้อมูลที่ถูกบรรจุอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk) หรือ แฟลชไดรฟว์ (Flash Drive)       จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ในปี พ.ศ. 2550 จึงได้เริ่มมีการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ จนกระทั่งในเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ในการคุ้มครองสิทธิ ขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว โดยมุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นฉบับที่ 2 คือ ปี2560 ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน สรุป 13 ข้อ สาระสำคัญจำง่ายๆ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ …

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Read More »

บทเรียนออนไลน์ เรื่องความหมายและประเภทของข้อมูลที่แชร์บนโลกออนไลน์

บทเรียนออนไลน์ เรื่องความหมายและประเภทของข้อมูลที่แชร์บนโลกออนไลน์ วิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามสิทธิในการนำมาใช้ allowfullscreen

Creative Commons (สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์)

Creative Commons คืออะไร Creative Commons หรือ สัญญาอนุญาตแบบเปิด เป็นลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่เปิดโอกาสให้สาธารณะได้ทำผลงานนั้นไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เหตุผลการมีอยู่ของ Creative Commons (CC) ก็เพื่อช่วยให้เจ้าของสามารถบอกให้คนทั่วไปรู้ว่า ผลงานของตัวเขาสามารถนำไปใช้งานในลักษณะใดต่อได้บ้างอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ Creative Commons ยังช่วยปกป้องผู้ใช้ทั่วไปให้ไม่ต้องกังวลว่าจะเผลอไปละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตราบใดที่เขาทำถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่ผู้ที่นำผลงานไปใช้จะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้บนผลงาน ผ่าน 4 สัญลักษณ์ที่แทนแต่ละเงื่อนไข มั่นใจว่าหลายคนเคยเห็นผ่านตา แต่รู้ไหมว่า สัญลักษณ์แต่ละอย่างหมายถึงอะไร https://www.youtube.com/watch?v=KZxblRoZqP0 1. Attribution (BY) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ต้องให้เครดิตที่มาของเจ้าของผลงานนั้น ซึ่งถ้าเขาอยากจะใช้ผลงานนั้นโดยไม่มีเครดิตชื่อเจ้าของผลงานกำกับ จะต้องทำการขอนุญาตเจ้าของผลงานก่อน 2. NonCommercial (NC) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ต้องไม่ใช่เพื่อการค้า เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน 3. NoDerivatives (ND) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย ผลงานชิ้นนั้นได้ แต่ห้ามดัดแปลงงาน เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุาตจากเจ้าของผลงานก่อน 4. ShareAlike (SA) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ผลงานที่ดัดแปลงนั้นจะต้องกำกับด้วยสัญญาอนุญาตเงื่อนไขเดียวกันกับต้นฉบับ เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน …

Creative Commons (สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) Read More »

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)

ทรัพย์สินทางปัญญา(Intellectual Property)คืออะไร       ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา       โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์      ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้ว ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ซื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม …

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) Read More »

Scroll to Top Click to listen highlighted text!